Translate

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พระรอด


พระรอด
พระรอดเป็นพระเครื่องราง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้พระสมเด็จฯ และพระนางพญา ได้ถูกขนานนามว่าเป็น" เทวีแห่งนิรันตราย " ทั้งได้แสดงคุณวิเศษ ทางแคล้วคลาด เป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมาย ตามตำนานกล่าวว่า "พระนารทฤาษี" เป็นผู้สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้น จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พระนารท" หรือ "พระนารอด" ครั้นต่อมานานเข้า มีผู้เรียกและผู้เขียนเพี้ยนไปเป็น "พระรอท" และในที่สุด ก็เป็น พระรอด อีกทั้งเหมาะกับภาษาไทยที่แปลว่า รอดพ้น จึงนิยมเรียกพระพิมพ์เครื่องรางชนิดนี้ว่า พระรอด เรื่อยมาโดย ไม่มีผู้ใดขัดแย้ง
พระรอดพบในอุโมงค์ใต้เจดีย์ใหญ่ วัดมหาวัน หรือ ที่เรียกว่า มหาวนาราม ณ จังหวัดลำพูน ซึ่งปรากฏ อยู่ถึงจนปัจจุบันนี้ อนึ่งวัดมหาวัน เป็นวัดโบราณของมอญลานนา ในยุค ทวาราวดี ขณะที่พระเจ้าเมงรายยกทัพ มาขับไล่พวกมอญออกไปราว พ.ศ.1740 นั้นก็พบว่า วัดนี้เป็นโบราณสถาน อยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นจึงไม่น่ามีปัญหาใดเลยว่า พระรอดนี้ควรมีอายุ เกินกว่า พันปีเป็นแน่ แต่เพิ่งมาพบ เมื่อประมาณ 50 ปีมานี่เอง


พระรอดมหาวัน พิมพ์กลาง

พระรอดมหาวันพิมพ์ใหญ่

พระกำแพง ซุ้มกอ





พระกำแพงซุ้มกอเป็นพระพิมพ์ที่มีอายุการสร้างมานานกว่า 600-700 ปี โดยมีการพบครั้งแรกในปี พ.ศ.2392 ซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้อ่านแผ่นศิลาจารึกโบราณซึ่งมีอยู่ที่วัดเสด็จ เมื่อครั้งท่านได้เดินทางไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร หลังท่านพบพระแล้วยังได้พบลานเงินจารึกอักษรขอมเป็นตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีบูชา พระที่ขุดพบมีด้วยกัน 3 พิมพ์คือ 1.พระพิมพ์ลีลา(พิมพ์เดิน) 2.พิมพ์ยืน 3.พิมพ์นั่งสมาธิ และเนื้อหามวลสารที่ใช้สร้างพระพิมพ์มี 1.ดีบุก(ตะกั่ว) 2.ว่าน 3.ดิน 4.เกสร และการพบพระครั้งแรกพบที่ในเจดีย์วัดพระมหาธาตุฝั่งตะวันตก ต่อมาจึงได้มีการเสาะหาพระพิมพ์ตามวัดต่างๆเช่น วัดฤาษี วัดพิกุล ฯลฯ นับเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะระบุได้แน่ชัดว่าพระองค์ใดได้จากกรุวัดใด พระกำแพงซุ้มกอเป็นพระที่สร้างด้วยเนื้อดินผสมว่านที่ได้ผ่านการบดจนละเอียดยิบและผ่านการเผาไฟมาแล้ว สีของพระที่พบจะมีสีแดงคล้ำแกมน้ำตาล สีดำแกมเขียวแก่และสีเขียวคล้ำ โดยเฉพาะในเนื้อพระจะพบว่ามีจุดสีแดงคล้ำออกสีน้ำตาลเล็กๆ และมีแง่มุมราบเรียบเป็นธรรมชาติ เรียกว่า“ว่านดอกมะขาม” และจะพบว่ามีรารักเป็นสีดำขึ้นมาจากในเนื้อพระมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่สภาพภายในกรุทึ่พบ พระกำแพงซุ้มกอมีลายกนกที่พบมี 5 พิมพ์ 1.พิมพ์ใหญ่ 2.พิมพ์กลาง 3.พิมพ์เล็ก 4.พิมพ์จิ๋ว 5.พิมพ์ขนมเปี๊ยะ สำหรับองค์ที่ท่านกำลังชมอยู่นี้เป็นพระกำแพงซุ้มกอมีลายกนกพิมพ์จิ๋ว เป็นพิมพ์ที่มีศิลปะการสร้าง ประณีตสวยงามมาก พุทธลักษณะโดยรวมจะคล้ายกับพิมพ์ใหญ่มีลายกนก องค์นี้มีขนาดประมาณเล็บนิ้วมือ พุทธคุณพระกำแพงซุ้มกอจะโดดเด่นด้านโชคลาภ ค้าขายดี สมกับคำที่ว่า “มีกูแล้วไม่จน” ซึ่งเป็นที่มาของมงคลนาม “ พระทุ่งเศรษฐี”



พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก กรุวัดพิกุล กำแพงเพชร

พระซุ้มกอดำ กำแพงเพชร

พระซุ้มกอ และพระกำแพงของทุ่งเศรษฐี ถูกขนานนามว่า "มหัธนากรแห่งพระเครื่อง" เป็นพระพิมพ์เครื่องราง ที่พบบรรจุอยู่ใน กรุววัดพระบรมธาตุ กรุวัดพิกุล กรุบ้านไร่ และกรุทุ่งเศรษฐี บริเวณฝั่งซ้าย(ตะวันตก) ของลำน้ำปิง หรือที่เรียกว่า ฝั่งนครชุม ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้ง ของเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่ง มีโบราณวัตถุ มากอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากพระเครื่องที่บรรจุอยู่ในพระเจดีย์กลาง ทุ่งเศรษฐี มีลักษณะงดงามกว่ากรุอื่น อีกทั้งกรุพระสี่แห่งนี้ อยู่ในบริเวณทุ่งเศรษฐีด้วยกัน จึงนิยมเรียกขานชื่อพระเครื่อง ที่บรรจุอยู่ในเจดีย์ฝั่งนครชุม ทั้งหมดว่า พระกำแพงเขย่งทุ่งเศรษฐี ซึ่งมีหลายแบบหลายชนิด ล้วนทรงคุณวิเศษ ทั้งทางลาภ ยศ เงินทอง มหานิยม และอยู่ยงคงกระพัน ทั้งนั้น เป็นพระเครื่องฝีมือช่างสมัยสุโขทัย สรางราว พ.ศ. 1900 และพบครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2392 คือ ประมาณ 148 ปี มานี่เอง


พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง กำแพงเพชร

พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ

สมเด็จวัดระฆัง


 สุดยอดเบญจภาคี 
 


พระสมเด็จ


พระสมเด็จ คือพระเครื่องราง รูปสมมติพระพุทธเจ้า สร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม ท่านเป็นพระอัจฉริยาจารย์ทรงคุณปัญญาสำเร็จอภิญญา คือความรู้ซึ่งได้ฌานสมาบัติขั้นสูง ๖ ประการ วัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ที่สร้างขึ้นโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จึงถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี (สุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย) และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท





พระสมเด็จ ที่เป็นที่รู้จักโด่งดังนั้น มีด้วยกันมากมายหลายแบบ หลายวัด หลายผู้สร้าง ถ้าจะกล่าวถึงพระสมเด็จที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ “พระสมเด็จวัดระฆัง” ซึ่งมีมากมายหลายพิมพ์ อาทิเช่น
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธาน
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เจดีย์
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์






ลักษณะของพระสมเด็จ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร สูงประมาณ 4 เซนติเมตร สีขาว ส่วนประกอบสำคัญในการสร้าง ปูนเปลือกหอย ข้าวก้นบาตร ผงวิเศษ 5 ชนิดและน้ำมันตังอิ๊ว ท่านยังผสมผสานวัตถุมงคลอาถรรพ์ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ลงในเนื้อพระ เช่นว่านร้อยแปด ดอกไม้บูชาพระ ก้านธูป ผงใบลานเผา เศษพระเครื่องโบราณ เศษจีวรห่มพระพุทธรูป ทรายเงิน ทรายทอง ฯลฯ ทำให้เนื้อพระมีความศักดิ์สิทธิ์ และมีคุณค่ายิ่ง





คาถาบูชาพระสมเด็จ


กราบ 3 ครั้ง ตั้งนะโม 3 จบ


พุทธัง อาราธนานัง ธรรมมัง อาราธนานัง สังฆัง อาราธนานัง
นะโมพุทธายะ พุทธังสัตตะ รัตนะมหาปะการัง สะระณังคัจฉามิ


ธัมมังสัตตะ รัตนะมหาปะการัง สะระณังคัจฉามิ
สังฆังสัตตะ รัตนะมหาปะการัง สะระณังคัจฉามิ


ทุติยัมปิ พุทธัง อาราธนานัง
ทุติยัมปิ ธัมมัง อาราธนานัง
ทุติยัมปิ สังฆัง อาราธนานัง
ตะติยัมปิ พุทธัง อาราธนานัง
ตะติยัมปิ ธัมมัง อาราธนานัง
ตะติยัมปิ สังฆัง อาราธนานัง


โอมมะศรี มะศรี พรหมรังสี นามเตโช มหาสมโน
มหาปัญโญ มหาลาโภ มหายโศ สัพสิทธิ ภวันตุเม
พระสมเด็จ อยู่ที่แห่งหนตำบลใด หากข้าพเจ้ามีบุญจะได้ครอบครอง ขออัญเชิญมาให้ประทับอยู่กับข้าพเจ้า เพื่อเป็นศิริ
มงคล และสืบวงศ์ตระกูลต่อไป องค์ใดที่ได้มา ขอให้เป็นของแท้ ของ เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังศรี
ของปลอมอย่าให้ได้พบปะเลย และขอให้ข้าพเจ้าได้มาอย่างง่ายดายเทอญ


อิติปิโสภควา พุทธัง เชยยะเมตตา พรหมรังสิ มหาเถโร ลาภลาภัง ภวันตุเม
ติปิโสภควา ธัมมัง เชยยะเมตตา พรหมรังสิ มหาเถโร ลาภลาภัง ภวันตุเม
อิติปิโสภควา สังฆัง เชยยะเมตตา พรหมรังสิ มหาเถโร ลาภลาภัง ภวันตุเม
ปติฎฐตุ ภันเต พรหมรังสิ เม สัพพากาเย โส สห ชินปัญชรคาถายาติ อาจายามิ

พระขุนแผน



พระขุนแผน







คาถาขุนแผน คาถาหัวใจขุนแผน คาถาปลุกขุนแผน คาถาพระขุนแผน



คาถาขุนแผน
เอหิมะมะ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ
(ใช้ท่องกับของใช้ส่วนตัวอะไรก็ได้แล้วจะทำให้มีเสน่ห์เป็นที่หลงไหล)

คาถาบูชาขุนแผน
สุนะโมโร โมโรสุนะ นะมะพะธะ จะพะกะสะ นะมามิหังคาถาขุนแผน (หลวงพ่อกวย)อมสิทธิ ท้าวฟื้นเจริญศรี หน้ากูงามคือพระแมน ณะมะพะทะ
แขนกูงามคือพระนาราย ฉายกูงามคือพระอาทิตย์ ฤทธิกูงามคือพระจัน
สาวในเมืองสวันเห็นหน้ากูอยู่มิได้ กูมาระลึกถึงฝูงหงษ์มาลืมข้ามคูหา
กูมาระลึกถึงมหาเสนา ก็มาลืมแท่นที่นอน กูมาระลึกถึงลูกไก่อ่อน ก็วิ่งตามกูมา
กูมาระลึกถึงสาวใช้ก็มาลืมแม่ กูมาระลึกถึงสาวแก่ก็มาหลงไหล
กูมาระลึกถึงเจ้าทัยเทวีก็มาลืมสวดมนต์ กูมาระลึกถึงฝูงคนก็มารักกูอยู่ทั่วหน้าทั่วชั้นฟ้าและพื้นดิน
เหมือนช้างรักงา ปลารักน้ำ เข้าอยู่ในดง ผมก็ลืมเกล้า ข้าวอยู่ในคอก็ลืมกลืน
ให้สะอื้นคิดถึงตัวกู อยู่ทุกเวลาและราตรี อิติลีกันหาชูชะโกโมกรุณาพุทปราณี ทายินดี
ยะเอ็นดู เอหิกะระนิโย อิติพิโส พะคะวาณะลีติ อิติมานิยม

รวมคาถาขุนแผน คาถาหัวใจขุนแผน ต่างๆมากมายคาถาหัวใจขุนแผนรักแท้
*โอมนะโมพุทธายะ พุทธัง สะระติ ธัมมัง สะระติ สังฆัง สะระติจิตตังสะมาเรมะมะเอทิ เอหิชัยยะ เอหิสัพเพชะนา พะหูชะนา เอหิ
(ให้บริกรรมคาถานี้กับลูกอมแล้วอมขณะที่คุยกับคนที่เรารัก จะทำให้เขาคนนั้นเกิดความรักจริงจังขึ้นมา)

คาถาหัวใจขุนแผนมัดใจ
*พุทธัง รัตตะนัง ธัมมัง รัตตะนัง สังฆัง รัตตะนัง นะผูก โมมัด พุทรัด ธารึง ยะกรึงคะเร โอมสวาหะ
(ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ทำให้คนรักคิดถึง)

คาถาหัวใจขุนแผนใจอ่อน
*ปัญจะมังสิระสังชาตัง นะอตใจ นะกาโร โหติ สัมภะโวตรีนิกัตวานะ นะ การัง ปัญจะสัมภะวัง
(ใช้ท่องก่อนที่จะพบเจรจากับคนที่เป็นเจ้าหนี้หรือใครก็ตาม จะทำให้ได้รับการผ่อนปรน ใจอ่อนได้ทุกที)

คาถาหัวใจขุนแผนผูกใจคน * โอมนะโมพุทธะ นะ มะ อะ อุ เอหิชัยยะ เอหิสัพเพชะนา พะหูชะนา เอหิ
(ใช้สวดเมื่อต้องการให้คนทั่วไปรักใคร่ยินดี ใช้เสกกับแป้งหรือน้ำหอมก็ได้)

คาถาหัวใจขุนแผนมหาเสน่ห์
*จันโทอะภกันตะโรปิติ ปิโย เทวะมนุสสานังอิตภิโยปุริ โสมะ อะ อุ อุ มะ อะ อิสวาสุ อิกะวิติ
(ให้ภาวนาคาถานี้ ๓ จบก่อนออกไปพบคน จะทำให้คนที่ต้องไปพบเกิดความรักใคร่)

คาถาหัวใจขุนแผนป้องกันตัว
*ปัญจะมัง สิระสังชาตัง นะกาโร โหติ สัมภะโวพินธุ ทัณฑะ เภทะ อังกุ สิริ นะโมพุทธายะ
(ใช้ท่องภาวนาเป่าใส่มือ แล้วตบมือดังๆ จะทำให้ปลอดภัยจากอันตรายไม่ว่าคนหรือสัตว์)

คาถาขุนแผนป้องกันผี *นะโมพุทธายะ มะพะ ทะนะ ภะ กะ สะ จะสัพเพทวาปีสาเจวะ อาฬะวะกาทะโยปิยะขัคคัง ตาละปัตตัง ทิสวา สัพเพยักขาปะลายันติ สักกัสสะ วะชิราวุธังเวสสุวัณณัสสะ คะธาวุธังอะฬะวะกัสสะ ทุสาวุธังยะมะนัสสะ นะยะนาวุธังอิเมทิสวา สัพเพยักขา ปะลายันติ

คาถาขุนแผนหนังเหนียว
*สุกิตติมา สุภาจาโร สุสีละวา สุปากะโต อัสสะสิมา วะเจธะโร เกสะ โรวา อะสัมภิโต
(ใช้สวดภาวนาคาถานี้กับน้ำมันทาถูร่างกายจะทำให้อาการฟกช้ำหายเร็ว หรือก่อนออกศึกใดๆ จะทำให้หนังเหนียวไม่บาดเจ็บง่าย)

คาถาขุนแผนข่มศัตรู *ตะโต โพธิสัตโต ราชะสิงโหวะมหิทธิโกอะระหัง ตะมัตทังปะกาเสนโตราชะสิงโห สัตถาอาหะ นะโมพุทธายะ นะมามิสุคะตังชินัง
(ใช้บริกรรมคาถาเมื่อจะต้องไปเจอศัตรู จะทำให้ศัตรูเกรงกลัว - ท่อง ๓ จบแล้วกระทืบเท้าดังๆ ก่อนออกจากบ้านเหมือนกับพิธีตัดไม้ข่มนาม)

คาถาขุนแผนเสกขี้ผึ้ง *มทุจิตตัง สุวามุปขังทิตสวานิมามัง ปิยังมะมะเมตตา ชิวหายะมะ ทุรังทะตวาจาจัง สุตทังสุตตะวา
สัพเพชะนาพะ หุชะนาอิตถีชะนาสัมมะนุนะ พรามมะนา นุนะปะสังสันติ
(ใช้ภาวนากับขี้ผึ้งหรือลิปสติก จะทำให้คนรักเชื่อฟัง)

คาถาขุนแผนหมัดหนัก
*โสภะคะวา อะทิสะมานิ อุเทยยัง คัจฉันตัพพังสังลารัง ปะระมัง สุขัง นะลัพภะติมหาสูญโญ จะสัมภะโต สังสาเร อานังคัจฉันติ
(ใช้ภาวนาเมื่อต้องการให้หมัดหนัก ไม่ใช่นักมวยก็ใช้ได้)

คาถาหัวใจขุนแผนสาริกาลิ้นทอง
*พุทธา อะเนนา มะลิยา สุสังคะเยมิ พุทธา อิริมะลิยา สุสังคะเยมิ พุทธา อิรปะโย เคมะคุณนะ ปักเขสะเมมะมิ อุนาโลมา ปันนะ วิชายะเต
(ใช้สวดภาวนาหากต้องการให้คนรักใคร่ พูดจาเป็นเสน่ห์ ตอนท่องถึงคำว่า มิ ก็ให้แตะที่ลิ้นด้วยทุกครั้ง)



ลักษณะของพระขุนแผน

พระขุนแผน มี 7 ลักษณะ (โดยละเอียด)

1.พิมพ์ขุนแผนห้าเหลี่ยม (อกใหญ่) ปางมารวิชัยขัดสมาธิ ประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว นาคสะดุ้ง 2 ตัว เป็นซุ้มเรือนแก้ว ใบระกาเป็นเม็ดยาวรี อยู่เหนือนาคสะดุ้ง เสาซุ้ม 2เสา พระเกตุมาลาทะลุซุ้ม พระโมลียาวคล้ายไส้กรอก พระพักตร์งาม ศิลปะอยุธยา ไรพระศกเป็นเส้นตรงหักโค้งเป็นมุขทั้งสองข้าง พระขโนงเหมือนนกบิน พระเนตรเป็นเม็ดยาว หางพระเนตรเชิดสูง พระนาสิกติดกับพระขโนงพระโอษฐ์โค้งพองาม พระหนุป้าน พระกันงอนจรดพระอังสาพระอุระใหญ่ สังฆาฏิสองลอนปลายตัด พระกับปะซายกางออกแล้วโค้งกับเข้าใน ปลายนิ้วพระหัตถ์ซ้ายงอนขึ้น พระหัตถ์ขวาเป็นปื้นเล็กจับที่ "หน้าเข่า " ประทับนั่งเหนือฐาน เส้นลวด พระเพลาแข็งเหมือนท่อนไม้ กรอบพิมพ์กว้า 3-3.35 ซ. ม. สูง 5-5.5 ซ. ม.



2.พระพิมขุนแผนห้าเหลี่ยม (อกเล็ก) พุทธลักษณะเหมือนพิมพ์ อกใหญ่ 80-90 เปอร์เซ็นต์ ที่ผิดกันคือพระเกตุมาลาไม่ทะลุซุ้ม พระหนุ (คาง) ค่อนข้างเสี้ยม พระพระอุระเล็ก สังฆาฏิปื้นทึบ ปลายตัด เหนือกว่า พระหัตถ์ซ้ายที่แบหงายมีขีดอยู่สามขีด





3.พิมพ์ขุนแผนแขนอ่อน พระพาหา(แขนท่อนบน) และพระกร (แขนท่อนล่าง) โค้งอ่อน จึงให้พระนามตามลักษณะว่า "พิมพ์ขุนแผน แขนอ่อน"ิ


ปางมารวิชัย ขัดสมาธิ พระชงฆ์ (หน้าแข้ง)บนยาว พระชงฆ์ล่างสั้น ซุ้มเรือนแก้วธรรมดา2 เส้นคู่ ไม่ใช่นาคสะดุ้ง กว้างกว่าพิมพ์หน้านาง เสาซุ้ม 2 เสา ใบระกาเป็นยาวรี


พระเกตุมาลาสั้นแต่เกือบจดซุ้ม พระโมลีคล้ายลูกจัน วงพระพักตร์กลม พระนลาฏเป็นแอ่ง พระขนงนูนลักษณะคล้ายนกบิน
พระเนตรเป็น เม็ดกลม พระนาสิกสั้น พระโอษฐ์เล็ก พระกรรณสั้นไม่จดพระอังสา (ไหล่) ลำพระองค์ค่อนข้างผอม สังฆาฏิสองลอนเป็นล่องกลาง พระพาหา พระกรเล็กทั้งสองข้างและมีช่วงสั้น พระพาหาโค้งลงมาแล้วแอ่นที่กัปประ (ข้อศอก) พระกรชอยออกพระหัตถ์จับที่" หัวเข่า" ส่วนด้านซ้ายของพระกรอ่อนคดมาจนถึงข้อพระหัตถ์ ฝ่าพระหัตถ์แบหงายที่หน้าพระเพลา ขนาดกว้าง 3 ซ.ม. สูง 5 ซ.ม.

4.พิมพ์ขุนแผนใบมะยม ดู ๆ ไม่เห็นคล้ายกับใบมะยมที่ตรงไหน แต่เขาเรียกกันมาเช่นนี้ก็ควรเรียกตามกันไปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ซุ้มแก้วธรรมดาสองเส้นคู่ เส้นในใหญ่ เส้นนอกเล็ก เสาซุ้มสองเสาใบระกาขีดยาวพระเกตุมาลายาวเรียว ปลายจดซุ้ม




พระโมลีคล้ายกระจับพระพักตร์ละม้ายคล้ายผลมะตูมพระศกเลี่ยน กรอบไรพระศกคล้ายนกบิน ศิลปะคล้ายพุทธรูปสุโขทัย พระขนงเป็นปื้นหนาติดกับพระนาสิก พระนาสิกหนาใหญ่ พระเนตรนูนโปน หางพระเนตรชี้ขึ้นบน พระโอษฐ์ป้อม ลักษณะ ปากจู๋ ลําองค์เอียงทางซ้าย พระกฤษฎี เบนมาทางขวา สังฆาฎิสองลอนปื้นใหญ่เต็ม พระอุระ พระพาหา-พระกรซ้ายโค้งไม่มีหักพระกับปะ จีวรพาดที่ข้อพระหัตถ์ 1 เส้น พระกรขวาทอดชายออกนอก พระหัตถ์จับที่ หัวเช่า ปลายพระบาททั้งสองข้างแหลมที่ข้อพระชงฆ์บนมี 2 ขีด พระชงฆ์ล่าง 3 ขีด


5.พิมพ์ขุนแผนใบพุทธทราทรวดทรงคล้ายพิมขุนแผนใบมะยม ผิดกันแต่พระพักตร์ปางมาวิชัยขัดสมาธิราบ ซุ้มเรือนแก้ว ใบระกาเป็นขีดนูน พระเกตุมาลายาวจดซุ้ม ต่อมพระโมลีคล้ายไส้กรอก ไรพระศกเหมือนพระจันเสี้ยว พระขนงเหมือนนกบินพระเนตรเป็นเม็ดกลม พระโอษฐ์คล้ายกระจับ พระกันกึ่งงอน นอ้ยๆ และสั้นยาวไม่จดพระอังสา



6.พิมพ์ขุนแผนฐานกระนก พิมพ์ค่อนข้างแปลกมีจำนวนน้อย ที่แน่ใจว่าใช่ของวัดพระวัดบ้านกร่างคือ เนื้อหา ฟ่าว ฟ่าม ฟุ เม็ดทรายถูกต้องตามทฤษฎี โดยสัญลักษณ์ ร่องลึก หรือว่านหลุด นั้นมีอยู่อย่างสมบูรณ์ จะบอกว่าไม่ใช่ไม่ได้ ผู้รู้ที่เมืองสุพรรณต่างก็บอกว่าเนื้อหาต่างๆ เป็นของ วัดบ้านกร่างทั้งนั้น เพียงแต่ไม่เคยเห็นมาก่อน ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ซุ้มเรือนแก้วไม่ชัดเจน พระพักตร์เลี่ยนศิลปะอยุธยา ไรพระศกหนาเป็น เส้นตรง พระโมลีคล้ายลูกจันทร์ พระเกตุมาลาสั้น พระกรรณเล็กไม่ชัดเจน ลำพระองค์กลมกลึงช่วงพระอังสา (บ่า) มนพองาม พระพาหาทั้งซ้าย-ขวาใหญ่ พระกรซ้ายทอดพองาม พระหัตถ์ซ้ายวางหงายที่พระเพลา เห็นนิ้ว
พระอังคุฏ (หัวแม่มือ) พระกรขวาชอนออก พระหัตถ์ขวาเล็กจับที่หัวเข่า สังฆาฏิสองลอนยาวจดฝ่าพระหัตถ์ อันตรวาสกด้านหน้า 2 เส้น เส้นบนยาว เส้นล่างสั้นจดที่นิ้วพระหัตถ์ พระเพลากว่างพอประมาณ พระชานุหัวเข่าใหญ่ ปลาพระบาทขวาชอนขึ้นบน ปลายพระบาทล่างยาวสุดถึงพระชานุบน ประทับนั่งเหนือพระอาสนะบัวกระหนกกว้าง 3 ซ.ม.สูง 5.8 ซ.ม.




7. ขุนแผนฐานหมอน คล้ายๆ พิมพ์พระหัตถ์ยาว ผิดแต่ลำพระองค์ผอมเล็ก พระพักตร์เล็กกว่า ประทับนั่งเหนือฐานหมอนยาว ขนาดพอกับพิมพ์ พระหัตถ์ยาว




ขุนแผนกุมารทอง



ขุนแผนเกตุใหญ่



ขุนแผนกุมารทอง




ขุนแผนสี่เหลี่ยม



ขุนแผนเรือนแก้วบัวชั้นเดียว



ขุนแผนเรือนแก้วบัวสองชั้น




ขุนแผนบ้านกร่าง








พระผงสุพรรณ

ประวัติพระผงสุพรรณ

จากการค้นพบสำเนาจารึกลานทอง ที่มีการกล่าวถึงการสร้าง พระผงสุพรรณ ดังนี้

“ศุภมัสดุ 1265 สิทธิการิยะ แสดงบอกไว้ให้รู้ว่าฤาษีทั้งสี่ตนพระฤาษีพิมพิลาไลย์เป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธิ์ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์ มีสุวรรณเป็นต้น คือ บรมกษัตริย์พระยาศรีธรรมโศกราช เป็นผู้มีศรัทธา พระฤาษีทั้งสี่ตนจึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย พระฤาษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกันทำพิธีเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง สถานหนึ่งดำ ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของมหาเถระปิยะทัสสะสี ศรีสารีบุตร คือ เป็นใหญ่เป็นประธานในที่นั้น ได้เอาแร่ต่าง ๆ มีอานุภาพต่างกัน เสกด้วยมนต์คาถาครบ ๓ เดือน แล้วท่านให้เอาไปประดิษฐ์ไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูมถ้าผู้ใดพบเห็นให้รับเอาไปไว้สักการบูชาเป็นของวิเศษ แม้จะมีอันตรายประการใดก็ดี ให้อาราธนาผูกไว้ที่คอ อาจคุ้มครองภยันตรายได้ทั้งปวง เอาพระสงสรงน้ำมันหอม แล้วนั่งบริกรรม พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ๑๐๘ จบ พาหุง ๑๓ จบ ใส่ชันสัมฤทธิ์ นั่งสันนิษฐานเอาความปรารถนาเถิดให้ทาทั้งหน้าและผม คอหน้าอก ถ้าจะใช้ทางเมตตา ให้มีสง่า เจรจาให้คนทั้งหลายเชื่อฟังยำเกรง ให้เอาพระไว้ในน้ำมันหอม เสกด้วยคาถานวหรคุณ ๑๓ จบ พาหุง ๑๓ จบ พระพุทธคุณ ๑๓ จบ ให้เอาดอกไม้ธูปเทียนทำพิธีในวันเสาร์ น้ำมันหอมเก็บไว้ใช้ได้เสมอทาริมฝีปาก หน้าผาก และผม ถ้าผู้ใดพบพระตามที่กล่าวมานี้ พระว่านก็ดี พระเกสรก็ดี ทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี อย่างประมาทเลย อานุภาพพระทั้ง ๓ อย่างนี้ดุจกำแพงแก้วกันอันตรายทั้งปวงแล้วให้ว่าคาถาทแยงแก้วกันอันตรายทั้งปวง แล้วให้ว่าคาถาทแยงสันตาจนจบพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณจนจบพาหุงไปจนจบแล้วให้ว่าดังนี้อีก กะเตสิกเกกะระณังมหาไชยังมังคะ สังนะมะพะทะ แล้วให้ว่า กิริมิติ กุรุมุธุ เกเรเมเถ กะระมะทะประสิทธิแล”


ลักษณะ พระผงสุพรรณสร้างเป็นองค์จำลองพระพุทธเจ้า ปางมารวิชัย เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา แบ่งออกได้เป็น 3 พิมพ์ คือ
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม





พระผงสุพรรณ


พระผงสุพรรณ










ราคา พระผงสุพรรณพระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ ค่านิยมเช่าหากันในราคสูงถึง 15 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นราคาที่สูงมาก และเป็นพระเครื่องที่ถือได้ว่าหายาก


พุทธคุณ พระผงสุพรรณกล่าวกันว่าโด่งดังในเรื่องของเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี ฟันแทง ยิงไม่เข้า โชคลาภค้าขายรุ่งเรือง และความมีอำนาจเหนือผู้อื่น อีกทั้งยังเชื่อว่าคุ้มครองจากภยันตรายได้ทั้งปวง ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก





                         พระผงสุพรรณ (พิมพ์หน้าแก่)
"ชี้ตำหนิ พิมพ์ทรง"
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สพรรณบุรี มีลักษณะพิมพ์ทรงโดยสังเขปดังนี้
1. ทรงหมวกแบบฤาษี มีต่อมเมาลีที่ตรงโคนพระเกตุ ส่วนปลายพระเกตุเป็นหน่อแหลม
2. พระพักตร์หันไปทางซ้าย และพระนาสิก(จมูก)ก็เบี้ยวไปทางซ้ายเช่นกัน ส่วนที่หัวพระเนตรด้านขวา จะยุบต่ำกว่าพระเนตรข้างซ้าย โดยเห็นร่องแก้มทางขวาลึกลงไปชัดเจน
3. มีเส้นแตกพิมพ์ที่ข้างซอกพระพักตร์กับพระกรรณทั้งสองข้าง โดยจะเห็นข้างขวาเป็นเส้นขีดเกินเป็นรูปสามเหลี่ยมปีกกา และที่ปลายพระกรรณข้างขวาจะยาวลงมาเกือบจรดพระอังสา(บ่า )และหักเป็นตาของอออกทางด้านนอก
4. พระอุระ(อก)จะยกนูนสูงขึ้นแบบโหนกหน้าวัว และมีก้อนเนื้อเกินเป็นพดเม็ดๆ เรียงอยู่ที่ใต้ของพระถันข้างซ้าย
5. พระอุทร(ท้อง) จะมีลักษณะแบบคนผอม จนร่องท้องยุบเป็นร่องคล้ายแบบรากฟัน และที่ข้อมือข้างซ้ายจะมีติ่งเนื้อเกินออกมาเป็นเดือยแหลม
6. พระหัตถ์ข้างขวาที่จับพระชานุ(เข่า) จะมองเหมือนใส่นวมชกมวย และที่ปลายพระหัตถ์ข้างซ้ายจะมีเล็บยาวเลยออกมา กับมีเส้นแตกพิมพ์เป็นทิวๆ อยู่เหนือที่พระหัตถ์ข้างซ้ายนี้





พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง มีพุทธลักษณะเนื้อหาทรวดทรงสัณฐานเช่นเดียวกับพระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่แต่เค้าพระพักตร์จะไม่เคร่งขรึมเหี่ยวย่นเหมือนพิมพ์ หน้าแก่ ดูอิ่มเอิบสดใส คล้ายหน้ามนุษย์ที่ไม่สูงวัยมาก และจะมีแม่พิมพ์เพียงพิมพ์เดียว






พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม เป็นพิมพ์ที่มีความลึก คมชัดเป็นอย่างยิ่ง ดูจากสภาพองค์พระที่ปรากฏจะเห็นลักษณะการถอดออกจากแม่พิมพ์ค่อนข้างยากว่าพระผงสุพรรณพิมพ์อื่น เหตุเพราะแม่พิมพ์มีความลึกมากเป็นพิเศษ ดังนั้น จึงพบองค์สภาพสมบูรณ์น้อยมาก พระพักตร์จะดูอ่อนเยาว์ สดใส และเรียวเล็กกว่าพิมพ์อื่น สมัยโบราณเรียกว่า "พิมพ์หน้าหนู" ซึ่งพระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม นี้มีแม่พิมพ์เดียว